ตรึกฟ้าตรองดิน ตรึกดินตรองฟ้า
THINK EARTH เปิดศักราชใหม่ของวงการวิทยาศาสตร์ที่จะก้าวเคียงคู่กับเด็กไทยในอนาคต ด้วยปณิธานที่จะประสานความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนในการรณรงค์ส่งเสริมความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ให้ขยายฐานกว้างขวางออกไปให้เด็กไทยและเยาวชนไทย ได้มีความคิดเป็นของตัวเอง คิดอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ มีจินตนาการยาวไกล และมีความฝันที่ไม่สิ้นสุด
THINK EARTH ร่วมกับกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการสมาคมดาราศาสตร์ไทย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จัดทำโครงการ ตรึกดินตรองฟ้า ตรึกฟ้าตรองดิน (THINK EARTH : THINK SKY) เพื่อแสวงหากิจกรรมต่าง ๆ สำหรับประมวลองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ผสมผสานกับวัฒนธรรม ความรู้เรื่องภูมิปัญญาไทย ความเชื่อโบราณและสมัยใหม่ โดยจัดการต่าง ๆ เช่น โครงการตะวันสัญจร โครงการสุริยุปราคาเต็มดวง 24 ตุลาคม 2538, โครงการดาวหางชูเมกเกอร์เลวี่ 9 ชนดาวพฤหัส, โครงการชาวฟ้า (FA : FUTURE ASTRONOME) ฯลฯ
โครงการตาวันสัญจร : สู่แนวสุริยุปราคา เต็มดวงในประเทศไทย
THINK EARTH ร่วมกับ สมาคมดาราศาสตร์ไทย สาธิตจำลองเหตุการณ์สุริยุปราคาที่เกิดวันที่ 24 ตุลาคม 2538 เป็นโครงการที่ช่วยรณรงค์ให้เด็กและเยาวชนสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์รองรับการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาในประเทศไทย การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในประเทศไทยปรากฏเหนือท้องฟ้า 11 จังหวัด จุดเริ่มต้นของอุปราคา ขณะพาดผ่านประเทศไทยจะเคลื่อนที่จากจังหวัดตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี ชัยภูมิ สระบุรี นครราชสีมา บุรีรัมย์ และผ่านจังหวัดสระแก้ว เป็นจังหวัดสุดท้าย
โครงการศูนย์การศึกษาดาราศาสตร์ สมเด็จย่า 100 ปี
THINK EARTH ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดทำศูนย์ศึกษาดาราศาสตร์ ภาคเหนือ THINK EARTH THINK SKY เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี รวมทั้งพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ไทย และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในด้านดาราศาสตร์ ความก้าวหน้าทางด้านดาราศาสตร์ รวมทั้งการจัดแสดงแบบจำลองทางด้านดาราศาสตร์ รวมทั้งเป็นศูนย์ศึกษาการเรียนรู้เรื่องท้องฟ้า ดวงดาว และศูนย์รวมการวิจัยและศึกษาดาราศาสตร์ รวมเอกสาร หลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ไทย ซึ่งปัจจุบันมีการติดตั้งกล้องดูดาวขานต่าง ๆ ตั้งแต่เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2–0.4 เมตร ณ หอดูดาวสิรินธร ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้ประชาชนศึกษาดูปรากฎการณ์บนท้องฟ้าและดวงดาวต่าง ๆ ผ่านกล้องดูดาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
THINK EARTH THINK SKY สืบสานโครงการดาราศาสตร์ไทย
1. พฤษภาคม 2537 โครงการ THINK EARTH ร่วมกับ ดร. ระวี ภาวิไล แถลงข่าวเปิดโครงการ THINK EARTH THINK SKY นำคณะมวลชนร่วมแกะรอยความเป็นมาดาราศาสตร์ไทย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่จังหวัดลพบุรี
2. จัดการบรรยายพิเศษหัวข้อ “ผลกระทบดาวหางชนดาวพฤหัสบดีต่อโลกมนุษย์” เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์
3. จัดอบรมนักดาราศาสตร์สมัครเล่นในโครงการ และนักดาราศาสตร์สำหรับอนาคตรุ่นที่ 1 (Future Astronomer of Thailand) เพื่อเป็นการสร้างแกนนำทางด้านดาราศาสตร์ของเมืองไทย
4. THINK EARTH และสมาคมนักดาราศาสตร์บรรยายเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน เกี่ยวกับ ปรากฎการณ์สุริยุปราคา
5. ร่วมกับ NECTEC ประชาสัมพันธ์ปรากฎการณ์สุริยุปราคาทางสื่ออินเทอร์เน็ต
6. สำนักนายกรัฐมนตรี THINK EARTH และหน่วยงานเอกชนร่วมจัดกิจกรรม “สุริยุปราคาฉลองกาญจนาภิเษก”
7. 13 มิถุนายน พ.ศ. 2538 “สุริยุปราคาฉลองกาญจนาภิเษก” ณ บริเวณหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธี 16 มิถุนายน พ.ศ. 2538 จัดขบวนจักรยานอัญเชิญธงตราสัญลักษณ์งานศิริราชสมบัติครบ 50 ปี ไปประดิษฐาน ณ จุดที่กำหนด จำนวน 27 จุด ใน 8 จังหวัด
8. 8 ตุลาคม พ.ศ. 2538 THINK EARTH นำคณะสื่อมวลชนสัญจร… สู่เส้นทางกึ่งกลางแนวคราส “สุริยุปราคาในประเทศไทย” โดยใช้พื้นที่เดินทางครอบคลุม 4 จังหวัด คือ จังหวัดสระบุรี บุรีรัมย์ นครราชสีมาและลพบุรี
9. คุณลุงศรี ชัยราช ถวายกะลาตาเดียวแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฟังบรรยายความรู้เรื่องสุริยุปราคา ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก
10. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีทอดพระเนตรสุริยุปราคา ที่ อ.สี่คิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
11. THINK EARTH ส่งมอบเอกสารประชาสัมพันธ์ปรากฏการณ์ธรรมชาติสุริยุปราคา ในประเทศไทยเพื่อบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์อีก 75 ปีข้างหน้า ให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
บันทึกหน้าประวัติศาสตร์สุริยุปราคาไทย
สุริยุปราคา บูรณฉายา ที่สังเกตได้บนท้องฟ้าเมืองไทยเท่าที่สืบค้นได้มี 5 ครั้ง คือ
1. สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2231 เวลา 9.27 น.จากหลักฐานบันทึกของบาทหลวงชาวฝรั่งเศสและจากภาพวาดระบาย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงสังเกตสุริยุปราคาที่ทะเลชุบศรเมืองลพบุรี แต่สันกึ่งกลางคลาสไม่ผ่านประเทศไทย
2. สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 เวลา 12.13 น. ที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยพระองค์ทรงคำนวณและพยากรณ์การเกิดคราสอย่างถูกต้องแม่นยำ ล่วงหน้าถึง 2 ปี และเสด็จพระราชดำเนินโดยชลมารคไปสังเกตการณ์ด้วยพระองค์เองพร้อมด้วยนักดาราศาสตร์ชาวต่างชาติที่ตำบลหว้ากอ
3. สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2518 เวลา 13.36 น. ที่แหลมลาย จังหวัดเพชรบุรี
4. สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 เวลา 13.10 น. ที่ตำบลโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี พระองค์และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนิน โดยชลมารค ไปสังเกตสุริยุปราคากับคณะนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ที่จังหวัดปัตตานี
5. สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2498 เวลา 10.17 น. เห็นสุริยุปราคาได้ตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรี ถึง จังหวัดอุบลราชธานี
6. สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538 เวลา 11.33 น. เส้นกึ่งกลางคราสเริ่มตั้งแต่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ถึง อำเภอปักธงชัยและอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา คัดลอกจาก คุณอารี สวัสดี
- THINK EARTH คืนชีวิต…คิดห่วงใยในผืนโลก
- The Global 500 Award
- สื่อธรรมชาติ
- ตรึกฟ้าตรองดิน ตรึกดินตรองฟ้า
- การอนุรักษ์พะยูนและหญ้าทะเล
- Think Earth Save Our Seas
- สื่อมวลชนสัญจร
- ชีวิต วัฒนธรรม ธรรมชาติ
- โครงการ “สวนพฤกษศาสตร์กล้วยไม้เฉลิมพระเกียรติฉลองร้อย ปีสมเด็จย่า”
- โครงการปลูกต้นไม้ในจิตใจคนไทยทั้งแผ่นดิน
- โครงการสร้างโลกสีเขียวให้เด็กไทย
- นิสสัน สานใจเด็กไทย คิดห่วงใยในผืนโลก